"พาณิชย์"
เตรียมปรับยุทธศาสตร์การค้าใหม่ หลังประเมินนโยบาย "ทรัมป์" กระทบการค้าโลกฉุดส่งออกไทยทางอ้อม พร้อมหา “พาร์ทเนอร์ชิพ” รองรับผลกระทบนโยบายแข็งกร้าวของนายโดนัลด์
ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ กำลังสร้างความวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งต่อการเมืองโลกและเศรษฐกิจ
หลังจากได้ผลักดันนโยบายตามที่หาเสียงไว้ โดยเฉพาะนโยบายการค้าการลงทุนของสหรัฐ ซึ่งกำลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญในเวทีการค้าโลก
และส่งผลกระทบต่อการค้ากับประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐโดยตรง โดยเฉพาะจีนและเม็กซิโก ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ
และผลกระทบทางอ้อมกับไทย ในฐานะประเทศคู่ค้าของจีน นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
(สนค.) กล่าวว่า ได้จัดทำแผนประเมินผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกาที่หันมาประกาศใช้นโยบาย
“อเมริกาต้องมาก่อน (America First)” ซึ่งเน้นการปกป้องชาตินิยม
โดยการตัดสินใจด้านต่างๆ ทั้งภาษี คนเข้าเมือง และกิจการต่างประเทศจะต้องเอื้อประโยชน์ต่อชาวสหรัฐฯ
จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับไทยทางตรง หากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
จะส่งผลให้ส่งออกสินค้าหลักของไทยมีแนวโน้มลดลง ทั้งสินค้าเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
(HS85) และเครื่องจักร เครื่องใช้เครื่องกล (HS84) ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนส่งออกรวมกันถึง 31.5%ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย
ผลกระทบทางอ้อม
จะทำให้ไทยส่งออกไปจีนและประเทศที่พึ่งพาจีนสูงลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวด HS85 ที่ส่งออกไปจีนและตลาดที่พึ่งพาจีนรวมกันประมาณ
50% ของการส่งออกสินค้า ขณะเดียวกันยังมีผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับนโยบายการค้า
อาทิ ค่าเงินผันผวน ทำให้ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น หากธนาคารกลางสหรัฐ ขึ้นดอกเบี้ย โดย
สนค.ประเมินว่าทิศทางการค้าระหว่างไทย – สหรัฐฯ หลังจากนี้จะเน้นหลักไปที่การเจรจา 2 ฝ่ายโดยตรง
จับตาการพิจารณาจีเอสพี นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวว่า การที่ทรัมป์ประกาศนโยบายปกป้องการค้า
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับไทยและต้องจับตาคือประเด็นในเรื่องของสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
(จีเอสพี) ที่จะต้องดาเนินการต่อความร่วมมือทุกปีอาจจะมีการพิจารณาใหม่หรือไม่
ซึ่งตามกำหนดข้อตกลงที่มีกับไทยจะหมดกรอบความร่วมมือในวันที่ 1 ม.ค.2561 นอกจากนี้กรณีที่สหรัฐฯ
ยกเลิกความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกการค้า (ทีพีพี)สิ นค้าได้รับผลกระทบคือ รถยนต์ที่ส่งออกทั้งคันเนื่องจากสหรัฐ เคยนำเข้ารถยนต์กว่า
80% และอาจจะหันมาผลิตเองในประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลทางการค้าเพื่อเตรียมหารือความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ ระดับรัฐมนตรี (TIFA) ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน
เม.ย.นี้ "ตอนนี้ไทยก็ยังมีเวที TIFA อยู่ อีกทั้งเรายังจะไปโฟกัสการทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
หรืออาร์เซป ซึ่งจะทำให้การค้า การบริการ และการลงทุนดีขึ้น" สาหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในปี 2559 อยู่ที่
36,553 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 24,495 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 11.4% ของมูลค่าการส่งออกรวม ขยายตัว
1.82% และเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอันดับ 1 หากเทียบเป็นรายประเทศ
ส่วนนำเข้ามีมูลค่า 12,058 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6.2% ของมูลค่าการนำเข้ารวม ชะลอตัวลง 13.03% และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยอันดับที่
3 หากเทียบเป็นรายประเทศ โดยไทยเกินดุลการค้าสหรัฐ อยู่ที่มูลค่า
12,437ล้านดอลลาร์ ส่วนปีนี้ ประเมินส่งออกในสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงขยายตัวอยู่ในกรอบ
10%
เร่งยุทธศาสตร์"พาร์ทเนอร์ ชิพ" นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กล่าวว่า นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ มีนโยบายสั่งการให้พิจารณาแผนการสร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ(พาร์ทเนอร์ ชิพ) ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่เกิดขึ้นได้เร็ว ผ่านการทำข้อตกลงต่างๆ
ที่คู่ค้าเห็นสนควรในผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกประเทศที่จะเข้าไปแลกเปลี่ยนการค้า
เบื้องต้นกำหนดเป็น อังกฤษ สหรัฐ เมียนมา และอิหร่าน เป็นต้น "นโยบายการทาพาร์ทเนอร์ ชิพ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนการค้าที่เกิดขึ้นจากการประชุมของประเทศคู่ค้าทั้งสองฝ่าย
เป็นการจับมือแบบไม่ผูกมัด มีข้อดีตรงที่สองประเทศสามารถพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนต้องการได้รับ"
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รมว.พาณิชย์ จะแถลงแผนยุทธศาสตร์ส่งออกปี 2560 ที่จัดทำขึ้นมาใหม่
ซึ่งได้รวมการประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งจากนโยบายการค้าของนายโดนัลด์
ทรัมป์ และผลกระทบ เบร็กซิท เพื่อผลักดันให้ส่งออกของไทยปี 2560 เป็นไปตามเป้าขยายตัว 3% แนะป้องกันความเสี่ยงชี้โลกผันผวนหนัก
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้วขณะนี้คือความไม่แน่นอน ความไม่มั่นใจ ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้เกิดความผันผวนด้านต่างๆ
เช่น ตลาดเงิน "หากนโยบายออกมา ลักษณะสุดขั้วแบบที่คาดการณ์กัน
จะเป็นผลเสียกับสหรัฐเอง เพราะวันนี้สหรัฐไม่ได้ค้าเสรีอีกต่อไป แต่เป็นความพยายามสร้างการกีดกันทางการค้า
ทั้งที่สหรัฐเติบโตมาได้ด้วยการค้าเสรีในช่วงที่ผ่านมา" สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงขณะนี้คือ การทำการค้าในบรรรยากาศของความไม่แน่นอน
ทำให้การทำธุรกิจแบบปกป้องความเสี่ยงต้องเข้มข้นมากกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา แต่จะกลัวจนไม่ทำอะไรเลยคงไม่ได้
ธุรกิจการค้าต้องดำเนินต่อไป การเฝ้าตามอย่างใกล้ชิดและไม่ประมาทเป็นคำตอบของสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้
ส่วนประเด็นความตกลงทางการค้า แม้สหรัฐจะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเปิดเจรจาการค้ากับประเทศใดบ้าง
แต่ไทยเองก็ควรเดินหน้าเจรจากรอบความตกลงการค้าที่มีอยู่ เช่น เอฟทีเอไทยปากีสถาน หรือ
แม้แต่เอฟทีเอไทยอังกฤษ
เพราะข้อตกลงทางการค้าที่ไทยมีอยู่จะช่วยถ่วงดุลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
สรท.ชี้การค้าโลกเสี่ยงสูงขึ้น นายนพพร เทพสิทธา
ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า นโยบายทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดสงครามการค้ากับประเทศต่างๆ ส่งผลให้การค้าโลกมีความเสี่ยงสูงขึ้น
"ที่ผ่านมา ทรัมป์ ได้เรียกบริษัทชั้นนำทุกด้าน เช่น ไนกี้ เข้าไปหารือที่จะดึงการลงทุนการสร้างงานกลับประเทศ
ก็อาจทำให้สินค้าเหล่านี้ย้ายไปผลิตในสหรัฐ ล่าสุดจากการพูดคุยกับบริษัทนุ่งห่มรายหนึ่งที่ผลิตชุดสูทมีมูลค่าสูง
ยอดขายไปสหรัฐลดลงถึง 10% เพราะดึงไลน์การผลิตกลับไปยังสหรัฐ
ซึ่งจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้" ทั้งนี้ในไตรมาส
1 ยอดส่งออกไปยังสหัฐอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะมีผู้นำเข้าบางรายเร่งนำเข้าไปก่อนในช่วงนี้
เพราะไม่มั่นใจในนโยบาย ทรัมป์ แต่หลังจากไตรมาส1 หากสหรัฐมีนโยบายที่จะดึงการลงทุนกลับประเทศอย่างเข้มข้น
ยอดการส่งออกของสินค้าไทยไปยังสหรัฐอาจจะลดลง หากจีนกับสหรัฐทาสงครามการค้ารุนแรง จุดยืนไทยจะอยู่ตรงไหน
ไทยจะต้องวางตัวเป็นกลางอย่างดีที่สุด หากหนักไปทางฝ่ายใดก็จะได้รับผลกระทบทั้งการค้า
การลงทุน และการท่องเที่ยว หวั่นสหรัฐเพิ่มมาตรการรุนแรงขึ้น ด้านนายวัลลภ วิตนากร
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการส่งสินค้าไปยังจีน
เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกไปจีนสูงถึง11% ของการส่งออกทั้งหมด โดยเฉพาะวัตถุดิบการเกษตร
ชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่หากมองโดยรวมแล้วผลกระทบด้านบวก และลบ
จะใกล้เคียงกันทำให้ไทยได้รับผลกระทบไม่มากในขณะนี้ "ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กไม่ใช่คู่ปรับโดยตรงของสหรัฐ
แต่หากบางอุตสาหกรรมที่เขาสู้ไทยไม่ได้ ก็อาจจะถูกร้องเรียนและถูกกีดกันได้ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งเพิ่มความเข้มงวดด้านกฎหมายควมคุมมาตรฐานทุกด้าน
โดยเฉพาะในเรื่องแรงงานประมงอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยลดความรุนแรงจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐได้"
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (6 ก.พ. 60) |
บทความ >