นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาห-
กรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปี 2560
เอกชนยังคงต้องติดตามค่าเงินบาทใกล้ชิดหลังจากช่วงนี้ค่าเงินบาทของไทยมีทิศทางอ่อนค่าแต่ภาพรวมยังคงแข็งค่ากว่าภูมิภาคเล็กน้อยโดยเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ดูแลใกล้ชิดและหากเป็นไปได้ขอให้ค่าเงินบาทของไทยใกล้เคียงกับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันในการส่งออก "ธปท.ขณะนี้ก็ดูแลใกลัชิดนะ
แต่ก็ต้องยอม รับว่าหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
0.25% มาอยู่ระหว่าง 0.50-0.75% ค่าเงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางที่เงินเหรียญสหรัฐ
แข็งขึ้น แต่ก็ยังอ่อนค่าน้อยกว่าเพื่อนบ้าน
ซึ่งก็เข้าใจว่าเป็นเพราะทุนสำรองของไทยนั้นมีเยอะ แต่เรา ก็หวังว่า ธปท.
จะดูแลใกล้ชิดเพราะตลอดปี 2560 เฟดจะยังทยอยขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง" นายวัลลภ
กล่าว สำหรับค่าเงินบาทของไทยที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงนั้นหากไม่ผันผวนและสะท้อนตามภูมิภาคก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยในปี
2560 ในแง่ของมูลค่าส่งออกที่จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น
ปัจจัยเศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบางที่ต้องติดตามใกล้ชิดทั้งจากนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ(โดนัลด์
ทรัมป์) ว่าจะมีท่าทีต่อการค้าที่ชัดเจนอย่างไร ขณะเดียวกัน
สหภาพยุโรป(อียู)มองว่าเศรษฐกิจ อาจชะลอตัวทั้งจากหลายประเทศจะต้องมีการเลือกตั้ง
เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
รวมถึงกรณีอังกฤษที่จะต้องตัดสินใจว่าจะออกจากสมาชิกอียู(Brexit) แน่นอนหรือไม่
นอกจากนี้
แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านภัยคุกคามที่แม้ว่าโดยรวมจะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนนัก นายวัลลภกล่าวว่า
ปัจจัยต้นทุนการผลิตในปี 2560
มีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นจากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกที่คาดว่าจะสูงกว่าปีนี้จะทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้น
รวมไปถึงค่าแรงที่ปรับขึ้นในบางพื้นที่
ขณะที่ราคาวัตถุดิบที่สะท้อนตามต้นทุนน้ำมันหลายชนิดจะมีราคาที่สูงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ภาคการผลิตจะต้องมีการพิจารณาลดต้นทุนโดยเฉพาะเอสเอ็มอี
อย่างไรก็ตามการปรับราคาสินค้าของผู้ประกอบการภายในประเทศในปี 2560
นั้นภาพรวมยังคงไม่ง่ายนักด้วยปัจจัยแรงซื้อยังต่ำ แต่การแข่งขันยังสูง...// ที่มา : นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360
องศา ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.
2559 |
บทความ >